ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง(ฉบับ 2563)
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2563
จัดทำ : เดือนธันวาคม 2562
โดย บริษัท เซโร่ กรีน จำกัด
ในที่สุดร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (“ร่าง พ.ร.บ.ภาษี ที่ดินฯ”)ได้ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้วเมืิ่อ 15 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมาเพื่อนํามาใช้แทนภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และภาษีบํารุงท้องที่ ตามพระราชบัญญัติภาษีบํารุงท้องที่ พ.ศ. 2508 โดยร่าง พ.ร.บ. ภาษี ที่ดินฯจะมีผลบังคับใช้เป็น “กฎหมาย” นับตั้งแต่ วันถัดจากวันประกาศราชกิจจานุเบกษา และภาษีที่ดินฯจะเริ่มถูกจัดเก็บตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ เพื่อให้ท่านได้เข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (“ภาษีที่ดินฯ) มากยิ่งขึ้นจึงขออธิบายสาระสําคัญที่น่าสนใจเบื้องตนของร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ โดยอ้างอิงมาตราตามร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม จากลิงค์ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/030/T_0021.PDF
สาระสําคัญของร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ
ภาษีที่ดินฯ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากทรัพย์สินของผู้เสียภาษี ที่จะนํามาใช้ จัดเก็บแทนภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (“อปท.”) จัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน โดยรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ทั้งหมดจะเป็นของ อปท. เพื่อนำไปใช้พัฒนาท้องถิ่นโดยไม่ต้องนําส่งเป็นรายได้แก่รัฐบาลส่วนกลาง
ฐานภาษีที่ดินฯ คิดจากมูลค่าใด
คํานวณภาษีบนมูลค่าทั้งหมดของที่ดิน สิ่งปลูกสร้างและห้องชุด โดยคํานวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินสิ่งปลูกสร้าง และห้องชุดเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินของกรมธนารักษ์ โดยผู้เสียภาษีสามารถเข้าไปดูราคาประเมินได้ ที่เว็บไซต์ http://trdservice.treasury.go.th/ ทั้งนี้ ราคาประเมินกลางของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างจะปรับตามรอบบัญชีการประเมินราคาทุก 4 ปี
อัตราภาษีที่ดินฯในช่วง 2 ปีแรก
(พ.ศ.2563 - 2564)
อ้างอิง : ร่างมาตรา 37 ร่างมาตรา40 ร่างมาตรา41 ร่างมาตรา94 และ ร่างมาตรา95 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ........(ฉบับที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว)
ส่วนอัตราภาษีที่ดินฯสำหรับหลังปี พ.ศ.2564 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯให้ข้อสังเกตไว้ว่า “ก่อนที่อัตราที่ดินฯที่จะใช้บังคับในช่วง 2 ปีแรกจะสิ้นสุดการบังคับใช้ ควรกำหนดอัตราภาษีที่ดินฯ ตามพระราชกฤษฎีกาไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ภาคธุรกิจได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับอัตราภาษีที่ดินฯ ที่จะใช้จัดเก็บจริงล่วงหน้า และสามารถใช้วางแผนการลงทุนได้”
(อ้างอิง : ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ข้อที่ 10 จากหนังสือของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เลขที่หนังสือ สว (สนช.) 0007/6351 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 )
การยื่นแบบและชำระภาษีที่ดินฯ เป็นอย่างไร
อปท.จะแจ้งการประเมินภาษีที่ดินฯ โดยส่งแบบการประเมินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี(เช่น เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้น)และผู้เสียภาษีที่ดินฯ มีหน้าที่ต้องชำระภาษีที่ดินฯ ตามแบบแจ้งการประเมินภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี (เช่น เดือนเมษายน 2563 เป็นต้น)
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการใช้เตรียมวางแผนภาษีสำหรับอสังหาริมทรัพย์ของท่านในปี 2563
อ้างอิง
(1) มติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 21 มีนาคม2560 จากเว็บไซต์ของรัฐบาลไทย สืบค้นเมื่อเดือนมีนาคม 2560
(2) สารบบสถานะการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จากเว็บไซต์ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สืบค้นเมื่อเดือนมีนาคม 2560
(3)รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. จากเว็บไซต์ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สืบค้นเมื่อ เดือนพฤศจิกายน 2561
(4) ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ฉบับที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว)
(5) เอกสารจากเว็บไซต์ของสำนักงานเศณษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เรื่องสาระสำคัญ ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง (ผ่านความเห็นชอบจาก สนช.วาระ 3 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561) สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561
(6) ของสังเกตของคณะกรรมาธิการการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ จากหนังสือของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฎิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เลขที่หนังสือ สว (สนช.)0007/6351 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561
(7) คู่มือการใช้บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง ของสำนักประเมินราคาทรพย์สิน กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2562 จากเว็บไซต์ http://www.treasury.go.th/download/article/article_20160728125246.pdf